วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น


ชื่องานวิจัย การอ่านตัวโน้ตสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
ชื่อผู้วิจัย ครูปกาศิต เอี่ยมสะอาด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านตัวโน้ตสากลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่ยังอ่านโน้ตสากลเบื้องต้นยังไม่คล่อง
เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การเสริมแรงโดยใช้คำพูดที่สุภาพ เป็นกันเอง แบบทดสอบวัดความสามารถ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล เป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ชุดละ 4 ข้อ จำนวน 4 ชุด ใช้ทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ชุดฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากล จำนวน 4 ชุด

ผลการวิจัยพบว่า

1.การใช้คำพูดที่สุภาพ เป็นกันเองกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้สึกเป็นมิตร กล้าพูด กล้าทำ ผูกพันกับผู้สอน มีความต้องการที่จะเรียนรู้ด้านดนตรี
2.การพัฒนาการเรียนรู้ ที่เริ่มจากง่ายไปหายาก ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีอย่างถูกต้อง
3.การทำแบบทดสอบ และฝึกปฏิบัติกิจกรรมแบบซ้ำๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม
4.การเสนอผลการทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการอ่านตัวโน้ตในแต่ละครั้ง ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงข้อบกพร่อง ทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจ ในผลงานของตนเอง
บทนำ

ความสำคัญและปัญหา

การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เพราะสามารถที่จะฝึกจิตใจให้ผู้เรียนเกิดสมาธิแน่วแน่ มีจิตใจงดงาม สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสมดุล ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมส่งผลถึงการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆของผู้เรียน และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมไทย
จากประสบการณ์ การสอนวิชาดนตรีสากลของผู้วิจัย พบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนหนึ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับการโน้ตสากลเบื้องต้นยังไม่ได้ ซึ่งผู้เรียนคิดว่าการอ่านโน้ตสากลเป็นเรื่องที่ยาก ผู้วิจัยคิดว่า การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเริ่มให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยาก จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาทักษะและผลงานทางด้านดนตรีสากลได้ และนอกจากนี้ หากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรีโดยการปฏิบัติแบบซ้ำๆกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติการอ่านโน้ตสากลได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านทฤษฎี ของตัวโน้ตสากลให้กับผู้เรียน
2.เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีของผู้เรียน




ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เรียนมีความรู้ อย่างแม่นยำในเรื่องของตัวโน้ตสากลเบื้องต้น
2.ผู้เรียนมีความคล่องแคล่ว ในการสร้างสรรค์งานดนตรีได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระอื่นๆและใน
ชีวิตประจำวัน

ตัวแปรที่ศึกษา

1.ความเข้าใจ ทฤษฎี ของตัวโน้ตสากลเบื้องต้น
2.ความสามารถ การปฏิบัติการอ่านตัวโน้ต

วิธีดำเนินการวิจัย

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทอม 1
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)
2.ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549
3.เครื่องมือในการวิจัย
1.การใช้คำพูด เสริมแรง ให้ความเป็นกันเอง และให้คำชมเชย
2.แบบทดสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากลเป็นแบบทดสอบ 4
ตัวเลือกและแบบเติมคำ ชุดละ 2 ข้อ จำนวน 4 ชุด
3.แบบฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากล จำนวน 4 ชุด


4.เกณฑ์การให้คะแนน
1.แบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล
ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
2.แบบฝึกปฏิบัติการอ่านตัวโน้ต
A คือ ได้ 9-10 คะแนน
B คือ ได้ 7-8 คะแนน
C คือ ได้ 5-6 คะแนน

ขั้นตอนในการวิจัย

1.ให้ผู้เรียนอ่านคำชี้แจงในแบบทดสอบ ก่อนการฝึกปฏิบัติกิจกรรม และปฏิบัติคำ
ชี้แจงนั้น
2.ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับคำถาม จำนวน 2 ข้อ
3.เมื่อผู้เรียน ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ส่งให้ผู้วิจัยตรวจ ผู้วิจัยแจ้งผลการทำ
แบบทดสอบให้ผู้เรียนทาบ เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาด
4.ผู้เรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการอ่านตัวโน้ตสากล ตามคำชี้แจงที่กำหนดให้ เสร็จแล้ว
นำส่งผู้วิจัย
5.ประเมินผล ด้วยการให้ระดับคะแนน A B หรือ C
6.ผู้เรียนรับแบบทดสอบ หลังการฝึกปฏิบัติกิจกรรม และทำแบบทดสอบตามคำชี้แจง
ที่กำหนด
7.ผู้เรียนส่งแบบทดสอบ ที่ทำเสร็จแล้วให้ผู้วิจัยตรวจ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนของแบบทดสอบ ก่อนการฝึก และหลังจากการฝึก




ผลการเปรียบเทียบคะแนน การทดสอบทฤษฎี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรี มีผลดังนี้

ชุดแบบทดสอบที่ 1

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 3 5 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 4 5 1
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 3 6 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 3 5 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 4 5 1

ชุดแบบทดสอบที่ 2

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 4 6 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 5 7 2
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 4 6 2
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 4 6 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 5 7 2

ชุดแบบทดสอบที่ 3

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 5 7 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 6 7 1
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 5 8 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 5 7 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 6 7 1


ชุดแบบทดสอบที่ 4

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 6 10 4
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 7 9 2
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 6 9 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 6 10 4
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 7 9 2


ผลการเปรียบเทียบคะแนน การฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตดนตรี

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 1

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C - C
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C - C
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C - C
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C - C
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C - C

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 2

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C C+
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C C+
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C C+
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C C+
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C C+


ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 3

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C+ B
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C+ B
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C+ B
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C+ B
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C+ B

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 4

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม B+ A
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ B+ A
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ B+ A
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ B+ A
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ B+ A

จากผลการเปรียบเทียบคะแนน การทดสอบทฤษฎี ก่อนฝึก หลังฝึก และการฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจน









สรุปผลการวิจัย

จากการฝึกสรุปได้ดังนี้
1.การที่ผู้สอนใช้คำพูดที่สุภาพ มีความเป็นกันเองกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สึก
เป็นมิตร กล้าพูด กล้าทำ มีความต้องการที่จะเรียนบ่อยๆ
2.การพัฒนาการเรียนรู้ที่เริ่มจากง่ายไปหายาก ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจ และมี
กำลังใจในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี
3.การทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมซ้ำๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความ
แม่นยำ ในการเรียนรู้ และมีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม
4.การเสนอผลการทำแบบทดสอบ และแบบฝึกการอ่านโน้ตสากล ในแต่ละครั้ง
ทำให้เกิดความพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงข้อบกพร่อง ทำให้ผู้เรียน
เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น: