วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The way makes excellent music child



mind a child by oneself should read , * , the way makes excellent music child * !! , " , the music is " , if , our child can is likely study since , still a child , will cause both of left brain and right work to accompany with type efficiency topmost , this thing will in hand the clue goes to the lifetime , if , begin study since , still very small "......... , believe in ? ( yes sir ) , ?.. , music education of a child , will go to get far only ? , no depend on at a child , but , depend on you My good man. all mother !!.... , head mind portion of child alms succeeds in music education has not plentiful ( yes sir ) , , only , .. 1. , the regularity is !!... , I [ hair ] doesn't want to use the word that , " , the discipline is " , because , it listens to see taut and can difficult , but , it , be like us washes , iron clothes , cook give a child has please ( yes sir ) , , be the thing that us must do regularly everyday , music education , The alike , at we must go to send the clue can everytime , and moreover be , we must enter to practice study with the clue with , yes ( yes sir ) , , practice study go to at the same time !! , here regard the trick please ( yes sir ) , , because , when , we begin to study go to already with , the clue will feel good , safety , happy with the education , which , will make the clue develops can go to very fast then , will excellent overtake infront we go to , last we merely are an observer only .. , but , if , we don't enter to study with , we do will not know that , will evaluate how is the work has of the teacher ? , and the clue by oneself in the age like this , as a result , feel that , deserted , last , do not want to study and quit go to , ... , a child will can study the music no , that this one that , are we will have entered to study with the clue everytime ? , if , can , tell immediately [ Ok ] ( yes sir ) , that , , your excellent child within certainly 2 year , .. 2. , the environment that us builds !! ... , now then ( yes sir ) , if , we will have been a musician already , while , we stay with clue gang , every minute be valuable , do not believe in try turn back see a picture of the clue last month ( yes sir ) , , see immediately [ Ok ] that , the clue grows up ..... , die ! , at I [ hair ] must tell , you must quit to watch television are like [hair] me !! , already take the time comes to attend a child plays a prelude to replace .. , must quit listen to the music loud that ever like , such as , woman style handful , then change come to listen to the music classic that don't understand replace !..555 , only , cry Oh! ! , already isn't it ( yes sir ) , .... , take ( yes sir ) , quietly be quietly go to , .... , begin from must build the atmosphere by use classic song MP3 , total up popular the hundred price more than a baht , or , go to buy total up popular 1200 4 classic shop scorpion artists company , come to open well up keep soft through in clue everywhere stays such as in a car , or , a room where the clue plays , lay pen pencil paints and paper A3 , give the clue can write without condition .. , lay oil earth or , powder takes to keep give the clue administrates hand muscle .... ..... , with regard to must listen but , the classical music is because , , the music that use in all piano education , be the classical music , be our parents necessity that must build the familiarity gives with the clue , can call that , listen go to until continually last , listenning to the music is classic , will become acquainted ordinary goes to by oneself , ...... , the time practices the piano and the clue , must not practice long ago , take not exceed only 5 minute build [ wasp ] time enough [ when ] only ( yes sir ) , , already alternate go to play otherly , then , come back practice 5 again minute , at important must see [ praise ] the clue that , excellent and applaud when the clue can play , but , if , can't play prohibit complain because , the clue will don't want to play again if , bump against insult , remember ! , see [ praise ] and applaud loud only only , . .. ... , do like this to can all day , many a days time are .. , open U give the clue has seen the craftsmanship extremely authentic world-class piano at is a child is like the clue such as , Aimi Kobayachi , etc. ? , for build the inspiration and give the clue copy , by tell and admire the clue , that , clue , excellent like this get ... , do like this to can 2 year , already our child , will stick the music is like are addicted to drugs , from that time next the clue , can practice by oneself ( yes sir ) , .. .......... , want to be the will gives you My good man. everybody mother who sends a child studies the piano please ( yes sir ) , ^^.. , believe in I [ hair ] , if , we are * , endure do like [ model ] , at I [ hair ] tells this can 2 consecutively year , only * , your excellent child certainly !! , and when , arrive at day that when , you stare to turn back , as a result , will have only the pride has in the works that us parents does with our child comes to , be like as I [ hair ] and a wife feel at this time , ^^ ,

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเรียนดนตรีให้เข้าใจ Learning to understand music

เป็นที่ทราบกันดีว่า "ดนตรี" มีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกทั้งทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ ซึ่งหลาย ๆ บ้านให้ความสำคัญกันมากขึ้น แต่การส่งลูกไปเรียนดนตรีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรมีชุดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย เพื่อเด็กจะได้เรียนดนตรีอย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องนี้ งามตา นันทขว้าง หรือ ครูอิงค์ วัย 28 ปี อาจารย์ประจำฝ่ายวิทยาการ โครงการฯ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และอาจารย์พิเศษสอนวิชาดนตรีสำหรับเด็กที่สถาบันเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า กิจกรรทางดนตรี เด็ก ๆ จะได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย นอกจากนี้ยังฝึกเขียนโน้ต เล่นเครื่องดนตรี เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย ส่วนการพัฒนาสมองคือการอ่านและท่องจำโน้ต ดังนั้นเด็กจำเป็นต้องมีสมาธิก่อนเรียน และวิเคราะห์ได้ก่อนเล่น ซึ่งการเรียนด้านดนตรีสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเพิ่งคลอด เช่น แม่เปิดเพลงให้ลูกฟัง เมื่อแม่ฟังไปด้วยก็อาจจะตบเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้จังหวะเพลง แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการส่งลูกไปเรียนดนตรีโดยตรง หลาย ๆ คนเข้าใจว่า การให้ลูกเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่เล็ก ๆ ย่อมดีที่สุด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะพบเห็นพ่อแม่บางคนพาลูก 2 ขวบหรือเล็กกว่านั้นมาเรียนดนตรีตามสถาบันต่าง ๆ กันแล้ว ในเรื่องนี้ ครูอิงค์มองว่า ควรให้เด็กมีความพร้อมด้านพัฒนาการต่าง ๆ ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาในการเรียนได้ "นักดนตรีเก่ง ๆ หลายคนเริ่มเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ แต่น้อยคนทำได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูเด็กว่าพร้อมหรือไม่ เช่น สมองเขาสามารถสั่งการให้นิ้วแยกจากกันได้ หรือเขาสามารถนั่งอยู่กับที่ได้ก็หมายความว่า เด็กพร้อมที่จะเรียนเปียโน หรือถ้าเขายืนนิ่ง ๆ ได้ มีความอดทน ขยับสีไม่เพี้ยน และกดเส้นได้ถูก เขาก็เหมาะสมกับการเล่นไวโอลิน" ครูอิงค์เผย ดังนั้นช่วงวัยของเด็กที่เหมาะสมกับการเรียนดนตรีนั้น ครูอิงค์แนะนำว่า ควรเริ่มตั้งแต่ 6 ขวบ ถ้าต่ำกว่า 5 ขวบลงมาควรเป็นกิจกรรมทางดนตรีมากกว่า เช่น การร้องเพลงให้ถูกระดับเสียง สอนการอ่านและเขียนโน้ต "ไม่เสมอไปว่าเด็กทุกคนจะทำได้ บางทีอาจต้องมีเทคนิคการสอนที่ดึงดูดด้วย เช่น ต่อไม้ไอศกรีมเรียงเป็นตัวโน้ต และต้องดูพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย อาทิ 3-5 ขวบ เขาชอบเล่น ก็หากิจกรรมให้ทำ แต่ถ้าเด็กไม่รู้ว่าเขากำลังเรียนอยู่ ต้องหาการสอนที่เหมาะสมกับวัยเขามากกว่า โดยครูอิงค์จะสอนกิจกรรทางดนตรีให้เด็ก ๆ อย่างเต็มที่ภายในเวลาปีครึ่ง ก่อนครูองค์จะสอนการเล่นเครื่องดนตรีของแท้" ครูอิงค์เล่า ส่วนคำแนะนำถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้ทิศทางว่าลูกชอบเครื่องดนตรีแบบไหน ครูอิงค์เผยสั้น ๆ ว่า คุณพ่อคุณแม่พาลูกมาสัมผัสกับเครื่องดนตรีด้วยตัวเองก่อน และให้เด็กตอบว่าชอบอะไร แต่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเห็นแค่ไม่กี่ชิ้น เช่น ไวโอลิน เปียโน กีตาร์ เป็นต้น "ยิ่งเด็กได้เห็นเครื่องเล่นวงใหญ่ ๆ มากเท่าไร เขาจะเป็นคนบอกเราเองว่า อยากเล่นอะไร อยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกต ซึ่งบางทีเขาเห็นใครเล่นอะไรก็อยากจะเล่นด้วย แต่การให้เด็กเล็ก ๆ ไปจับเปียโน ไวโอลิน ผู้ใหญ่ต้องคอยประกบ เนื่องจากเครื่องดนตรีเหล่านี้มีราคาแพง" ครูอิงค์ทิ้งท้าย ////////////// ข้อมูลประกอบข่าว งามตา นันทขว้าง หรือ ครูอิงค์ จบการศึกษาระดับปริญญา สาขาดนตรีไทย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาปริญญาโท ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ศึกษาวิธีการสอนดนตรีสำหรับเด็กแบบโคดายและคาร์ล ออร์ฟกับรศ.ดร.ธวัชชัย นาควงศ์ นอกจากนั้นยังเข้าร่วมอบรมการสอนดนตรีต่างๆมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศกับวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำฝ่ายวิทยาการ โครงการฯ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์พิเศษสอนวิชาดนตรีสำหรับเด็กที่สถาบันเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000113818

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวโน้ตไม่ไม่คล่องของนักเรียนชั้นป.4


ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวโน้ตไม่ไม่คล่องของนักเรียนชั้นป.4
ชื่อผู้วิจัย นายปกาศิต เอี่ยมสะอาด
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2550
ประเภทงานวิจัย งานวิจัยในชั้นเรียน

ความเป็นมา
ในปีการศึกษา 2550 ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนรายวิชาดนตรีสากลชั้นป.4/2
ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 37 คน เป็นนักเรียนชาย 21 คน เป็นนักเรียนหญิง 16 คน ผู้วิจัยได้นำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับตัวโน้ตมาทดสอบนักเรียนทั้งห้องเพื่อดูพื้นฐานเรื่องของตัวโน้ต ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวน 16 คนที่เขียนโน้ตไม่คล่อง จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 37 คน

แนวคิด ทฤษฎี
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรข้อหนึ่งได้ระบุไว้ว่า เข้าใจและแสดงออกทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ คุณค่าทางดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็นต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันความมุ่งหมายดังกล่าวต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะรักดนตรี ชื่นชมดนตรี โดยปูพื้นฐานให้ผู้เรียนรักการอ่านโน้ตสากลและฝึกเขียนโน้ตสากลง่ายๆพอเป็นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านดนตรีสากลในระดับชั้นที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อแก้ปัญหาการแก้ปัญหาการเขียนตัวโน้ตไม่ไม่คล่องของนักเรียนชั้นป.4 นักเรียนจำนวน 16 คน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) ปีการศึกษา 2550

วิธีดำเนินการวิจัย
1. ระเบียบวิธีวิจัย เป็นวิจัยเชิงทดลอง
2. ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล 3 ปีการศึกษา 2550
3. กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 16 คน
4. ตัวแปรศึกษา
4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ ตัวอย่างตัวโน้ตประเภทต่างๆ
4.2 ตัวแปรตาม ความก้าวหน้าของการเขียนโน้ต

5. เครื่องมือที่ใช้
5.1 ตัวอย่างตัวโน้ตประเภทต่างๆ
5.2 แบบฝึกหัดการเขียนโน้ต
6. การรวบรวมข้อมูล
6.1 นักเรียนจำนวน 16 คน ฝึกเขียนโน้ต ตัวละ 2 หน้า จำนวน 10 ครั้ง
6.2 คุณครูคอยตรวจสอบทุกครั้ง ตามรูปแบบการเขียนโน้ตโดยไม่มีการใช้ไม้บรรทัด
ขีดเส้น จำนวน 10 ครั้ง
6.3 เปรียบเทียบความก้าวหน้า ของการอ่านครั้งที่ 1 และครั้งที่ 10 ของนักเรียนจำนวน
12 คน
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความก้าวหน้าของการเขียนโน้ตของนักเรียน ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 10
8. สถิติที่ใช้
หาค่าร้อยละ

ผลการศึกษา
นักเรียนที่เขียนไม่คล่อง จำนวน 16 คน มีพัฒนาการเขียนที่ดีขึ้น โดยเปรียบเทียบจากคะแนนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.50

ประโยชน์ของงานวิจัย
1. นักเรียนสามารถรู้จักตัวโน้ตแต่ละประเภทและอัตราจังหวะต่างๆของตัวโน้ต
2. นักเรียนมีพัฒนาการเขียนโน้ตที่ดีขึ้นร้อยละ 86.50

ข้อเสนอแนะ
การฝึกการเขียนโน้ตอาจใช้รูปแบบอื่นได้ เช่น การฝึกเขียนตามรอยปรุที่คุณครูกำหนดให้ การฝึกเขียนโน้ตโดยการระบายสีให้สวยงาม เป็นต้น

งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น


ชื่องานวิจัย การอ่านตัวโน้ตสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
ชื่อผู้วิจัย ครูปกาศิต เอี่ยมสะอาด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านตัวโน้ตสากลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่ยังอ่านโน้ตสากลเบื้องต้นยังไม่คล่อง
เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การเสริมแรงโดยใช้คำพูดที่สุภาพ เป็นกันเอง แบบทดสอบวัดความสามารถ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล เป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ชุดละ 4 ข้อ จำนวน 4 ชุด ใช้ทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ชุดฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากล จำนวน 4 ชุด

ผลการวิจัยพบว่า

1.การใช้คำพูดที่สุภาพ เป็นกันเองกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้สึกเป็นมิตร กล้าพูด กล้าทำ ผูกพันกับผู้สอน มีความต้องการที่จะเรียนรู้ด้านดนตรี
2.การพัฒนาการเรียนรู้ ที่เริ่มจากง่ายไปหายาก ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีอย่างถูกต้อง
3.การทำแบบทดสอบ และฝึกปฏิบัติกิจกรรมแบบซ้ำๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม
4.การเสนอผลการทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการอ่านตัวโน้ตในแต่ละครั้ง ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงข้อบกพร่อง ทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจ ในผลงานของตนเอง
บทนำ

ความสำคัญและปัญหา

การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เพราะสามารถที่จะฝึกจิตใจให้ผู้เรียนเกิดสมาธิแน่วแน่ มีจิตใจงดงาม สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสมดุล ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมส่งผลถึงการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆของผู้เรียน และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมไทย
จากประสบการณ์ การสอนวิชาดนตรีสากลของผู้วิจัย พบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนหนึ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับการโน้ตสากลเบื้องต้นยังไม่ได้ ซึ่งผู้เรียนคิดว่าการอ่านโน้ตสากลเป็นเรื่องที่ยาก ผู้วิจัยคิดว่า การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเริ่มให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยาก จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาทักษะและผลงานทางด้านดนตรีสากลได้ และนอกจากนี้ หากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรีโดยการปฏิบัติแบบซ้ำๆกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติการอ่านโน้ตสากลได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านทฤษฎี ของตัวโน้ตสากลให้กับผู้เรียน
2.เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีของผู้เรียน




ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เรียนมีความรู้ อย่างแม่นยำในเรื่องของตัวโน้ตสากลเบื้องต้น
2.ผู้เรียนมีความคล่องแคล่ว ในการสร้างสรรค์งานดนตรีได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระอื่นๆและใน
ชีวิตประจำวัน

ตัวแปรที่ศึกษา

1.ความเข้าใจ ทฤษฎี ของตัวโน้ตสากลเบื้องต้น
2.ความสามารถ การปฏิบัติการอ่านตัวโน้ต

วิธีดำเนินการวิจัย

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทอม 1
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)
2.ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549
3.เครื่องมือในการวิจัย
1.การใช้คำพูด เสริมแรง ให้ความเป็นกันเอง และให้คำชมเชย
2.แบบทดสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากลเป็นแบบทดสอบ 4
ตัวเลือกและแบบเติมคำ ชุดละ 2 ข้อ จำนวน 4 ชุด
3.แบบฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากล จำนวน 4 ชุด


4.เกณฑ์การให้คะแนน
1.แบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล
ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
2.แบบฝึกปฏิบัติการอ่านตัวโน้ต
A คือ ได้ 9-10 คะแนน
B คือ ได้ 7-8 คะแนน
C คือ ได้ 5-6 คะแนน

ขั้นตอนในการวิจัย

1.ให้ผู้เรียนอ่านคำชี้แจงในแบบทดสอบ ก่อนการฝึกปฏิบัติกิจกรรม และปฏิบัติคำ
ชี้แจงนั้น
2.ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับคำถาม จำนวน 2 ข้อ
3.เมื่อผู้เรียน ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ส่งให้ผู้วิจัยตรวจ ผู้วิจัยแจ้งผลการทำ
แบบทดสอบให้ผู้เรียนทาบ เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาด
4.ผู้เรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการอ่านตัวโน้ตสากล ตามคำชี้แจงที่กำหนดให้ เสร็จแล้ว
นำส่งผู้วิจัย
5.ประเมินผล ด้วยการให้ระดับคะแนน A B หรือ C
6.ผู้เรียนรับแบบทดสอบ หลังการฝึกปฏิบัติกิจกรรม และทำแบบทดสอบตามคำชี้แจง
ที่กำหนด
7.ผู้เรียนส่งแบบทดสอบ ที่ทำเสร็จแล้วให้ผู้วิจัยตรวจ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนของแบบทดสอบ ก่อนการฝึก และหลังจากการฝึก




ผลการเปรียบเทียบคะแนน การทดสอบทฤษฎี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวโน้ตสากล ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรี มีผลดังนี้

ชุดแบบทดสอบที่ 1

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 3 5 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 4 5 1
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 3 6 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 3 5 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 4 5 1

ชุดแบบทดสอบที่ 2

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 4 6 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 5 7 2
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 4 6 2
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 4 6 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 5 7 2

ชุดแบบทดสอบที่ 3

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 5 7 2
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 6 7 1
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 5 8 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 5 7 2
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 6 7 1


ชุดแบบทดสอบที่ 4

ชื่อ-นามสกุล คะแนนก่อนฝึก คะแนนหลังฝึก ผลต่าง
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม 6 10 4
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ 7 9 2
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ 6 9 3
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ 6 10 4
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ 7 9 2


ผลการเปรียบเทียบคะแนน การฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตดนตรี

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 1

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C - C
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C - C
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C - C
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C - C
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C - C

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 2

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C C+
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C C+
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C C+
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C C+
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C C+


ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 3

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม C+ B
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ C+ B
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ C+ B
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ C+ B
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ C+ B

ชุดแบบฝึกปฏิบัติที่ 4

ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1.ด.ช.พิศาสตร์ การเกษม B+ A
2.ด.ช.มูฮำหมัดซอและ บินลาเต๊ะ B+ A
3.ด.ญ.กนกวรรณ ยุทธกิจ B+ A
4.ด.ญ.คนาภรณ์ ย้อยดำ B+ A
5.ด.ญ.อาทิตยา แซ่ลอ B+ A

จากผลการเปรียบเทียบคะแนน การทดสอบทฤษฎี ก่อนฝึก หลังฝึก และการฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจน









สรุปผลการวิจัย

จากการฝึกสรุปได้ดังนี้
1.การที่ผู้สอนใช้คำพูดที่สุภาพ มีความเป็นกันเองกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สึก
เป็นมิตร กล้าพูด กล้าทำ มีความต้องการที่จะเรียนบ่อยๆ
2.การพัฒนาการเรียนรู้ที่เริ่มจากง่ายไปหายาก ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจ และมี
กำลังใจในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี
3.การทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมซ้ำๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความ
แม่นยำ ในการเรียนรู้ และมีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม
4.การเสนอผลการทำแบบทดสอบ และแบบฝึกการอ่านโน้ตสากล ในแต่ละครั้ง
ทำให้เกิดความพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงข้อบกพร่อง ทำให้ผู้เรียน
เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง